วันอาทิตย์ที่ 9 มีนาคม พ.ศ. 2557

Pray for MH370



มีน้อยคนนักที่จะรู้ว่า การบินในภูมิภาคเอเชียถูกจัดให้เป็นภูมิภาคการบินที่ปลอดภัยมากที่สุดแห่ง หนึ่งของโลก เวลาผ่านพ้นไปกว่า 48 ชั่วโมงกับเหตุการณ์เที่ยวบิน MH370 ของสายการบินมาเลเซียแอร์ไลน์ ทำให้มีการพูดถึงมาตรฐานความปลอดภัยของการบินในภูมิภาคเอเชียกันอีกครั้ง

ผม มองย้อนกลับไปโดยเฉพาะโศกนาฎกรรมใหญ่ๆที่เกิดขึ้นกับเครื่องบินตก เชื่อมั้ยครับว่า แทบไม่มีใครลืมเดือนกันยายน ปี 2540 ได้ เพราะได้เกิดโศกนาฏกรรมกับเครื่องบินแอร์บัส A300 ของสายการบินการูด้า อินโดนีเซียตก มีผู้โดยสารเสียชีวิต 234 คน ถัดมาในเดือนพฤศจิกายนในปีเดียวกัน เครื่องบินโบอิ้ง 737-300 ที่ใช้งานเพียง 10 เดือนของสายการบิน ซิลค์แอร์ ประเทศสิงคโปร์ มีอันต้องเกิดอุบัติเหตุตกใกล้กับเมืองปาเลมบัง ในประเทศอินโดนีเซีย ทำให้ผู้โดยสารเสียชีวิต 104 คน และในเดือนตุลาคมปีที่ผ่านไป เครื่องบินเล็กขนาด 2 ใบพัดที่เรียกว่าเครื่อง ATR ของสายการบินลาว ได้เกิดอุบัติเหตุตกกลางแม่น้ำโขงก่อนจะถึงจุดหมายปลายทางที่เมืองปากเซ มีผู้โดยสารเสียชีวิต 49 คน รวมคนไทยจำนวนหนึ่ง

ผมลองหันมาดูด้าน มาตรฐานความปลอดภัยของสายการบินสัญชาติเอเชีย ซึ่งก็กลายเป็นประเด็นพูดคุยขึ้นมาอีกครั้ง นับเป็นอันที่รู้กันดีว่า สายการบินอินเดีย และประเทศที่ใกล้เคียงกัน เช่น เนปาล ได้ถูกลดอันดับความปลอดภัยของสายการบินโดยหน่วยงานการบินแห่งชาติสหรัฐ หรือ US FAA ไปเมื่อช่วงต้นปีนี้ที่เพิ่งผ่านไป นอกจากนี้ สายการบินสัญชาติอินโดนีเซียหลายแห่ง ยังคงอยู่ในรายชื่อเฝ้าจับตาด้านความปลอดภัยของกลุ่มสหภาพยุโรปจนถึงทุก วันนี้ หากดูจากสถิติโศกนาฏกรรมครั้งสำคัญ หรือครั้งใหญ่ๆของสายการบินในช่วงมากกว่า 10 ปีที่ผ่านมา จะพบชัดเจนว่า สายการบินสัญชาติเอเชียติด 3 อันดับในทั้งหมด 12 อันดับ เริ่มจาก สายการบินสัญชาติอินเดีย ติดดันดับ 7 ตามมาด้วยสายการบินสัญชาติปากีสถาน อยู่อันดับ 10 และสายการบินสัญชาติอินโดนีเซียติดอันดับ 12 

จริง อยู่ว่า สายการบินที่มีมาตรฐานความปลอดภัยสูง ย่อมต้องมีเครื่องบินที่มีคุณภาพด้านความปลอดภัยสูงด้วย จากเหตุการณ์เครื่องบินโบอิ้ง 777-200 ของสายการบินมาเลเซียแอร์ไลน์ขาดการติดต่อกระทันหันเมื่อวันเสาร์ที่ผ่านไป อาจมองได้ว่า เป็นสถิติเครื่องบินที่เกิดอุบัติเหตุจนถึงแก่ชีวิตเพียง 1 ครั้งในทุกๆ 200 ล้านเที่ยวบิน โดย บริษัท โบอิ้ง อินคอร์ปอเรชั่น ซึ่งผู้ผลิตเครื่องบินชั้นนำจากสหรัฐ ย้ำอย่างมั่นใจว่า มาตรฐานความปลอดภัยของเครื่องบินได้รับการปรับปรุงอย่างรวดเร็วมาก ดูได้จากสถิติดังกล่าวในช่วงยุคทศวรรษปี 1950 และ ปี 1960 มักจะเกิดโศกนาฏกรรมทางเครื่องบินถึงแก่ชีวิตมีจำนวน 1 ครั้งในทุกๆ 2 แสนเที่ยวบิน พูดให้เข้าใจง่ายๆ โอกาสเครื่องบินเกิดอุบัติเหตุถึงแก่ชีวิตมีสูงมากในอดีต

ผมลองมองไป อีก 20 ปีข้างหน้า ภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกซึ่งเชื่อมระหว่างเอเชียไปถึงทวีปอเมริกา กำลังจะกลายเป็นภูมิภาคการบินครึ่งหนึ่งของการขยายตัวปริมาณการจราจรทาง อากาศทั่วโลก นั่นหมายความว่า เอเชียแปซิฟิกมีความต้องการซื้อเครื่องบินใหม่มากถึง 12,820 ลำ ทำให้ต้องใช้เงินกว่า 1.9 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ หรือกว่า 62,700 ล้านล้านบาท อย่างไรก็ตามครับ ไม่ว่าความต้องการใช้เครื่องบินจะเติบโตสูงมากมายแค่ไหน? เศรษฐกิจในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกจะขยายตัวสูงอีกเท่าไหร่? หัวใจของอุตสาหกรรมการบินในภูมิภาคเอเชีย และอื่นๆทั่วโลก ล้วนอยู่ที่การลงจอดที่ปลอดภัยของทั้งผู้โดยสาร และลูกเรือทุกคนในลำเดียวกันเท่านั้นเองครับ


รองเท้าผ้าใบ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น