วันอังคารที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2556

ย้อนประวัติศาสตร์ เมื่อสหรัฐฯ ต้อง'ชัตดาวน์'

เมื่อรัฐบาลสหรัฐฯ ต้องเข้าสู่ภาวะหน่วยงานรัฐเป็นอัมพาตบางส่วน หลังจากสภาคองเกรสไม่สามารถตกลงกันเรื่องกฎหมายงบประมาณฉุกเฉิน โดยถือเป็นครั้งแรกในรอบ 17 ปี เมื่อวันอังคารที่ผ่านมา และครั้งนี้ คือ ครั้งที่ 18 แล้วยังไม่อาจหาข้อสรุปที่จะมาผ่าทางตันปัญหานี้ได้...
เมื่อ วันที่อังคารที่ผ่านมา รัฐบาลสหรัฐฯเข้าสู่ภาวะหน่วยงานรัฐเป็นอัมพาตบางส่วน (government shutdown) หรือ ชัตดาวน์ เป็นครั้งแรกในรอบ 17 ปี หลังจากสภาคองเกรสไม่สามารถตกลงกันเรื่องกฎหมายงบประมาณฉุกเฉิน โดยฝ่ายรีพับลิกันที่ครองคะแนนเสียงข้างมาก ในสภาผู้แทนราษฎรผ่านร่างกฎหมายงบประมาณ ที่พ่วงเงื่อนไขเลื่อนเวลาบังคับใช้กฎหมายปฏิรูปประกันสุขภาพของ ประธานาธิบดีบารัค โอบามา หรือ "โอบามาแคร์" ซึ่งจะมีผลเต็มตัวในวันที่ 1 ต.ค. ออกไปอีก 1 ปี แต่กฎหมายนี้ถูกโหวตตีกลับโดยวุฒิสภาซึ่งฝ่ายเดโมแครตครองเสียงข้างมาก และจนถึงขณะนี้ก็ยังไม่อาจหาข้อสรุปที่แน่ชัดในการผ่าทางตันนี้ได้
บารัค โอบามา

อย่าง ไรก็ตาม นี้ไม่ใช่ชัตดาวน์ครั้งแรกหรือครั้งที่สองของรัฐบาลสหรัฐฯ หากเป็นครั้งที่ 18 แล้ว โดยการชัตดาวน์ครั้งแรกในประวัติศาสตร์ของสหรัฐฯ เกิดขึ้นในปี 1976 สมัยประธานาธิบดีเจอรัลด์ ฟอร์ด ตั้งแต่วันที่ 30 ก.ย.ถึง 11 ต.ค. รวม 10 วัน ส่วนการชัตดาวน์ครั้งที่ 2-6 เกิดขึ้นระหว่างปี 1977-79 ซึ่งล้วนอยู่ในสมัยประธานาธิบดี จิมมี คาร์เตอร์ ทั้งสิ้น กินระยะเวลาตั้งแต่ 8 วัน ถึง 18 วัน แต่ เบนจามิน ซิวิเลตติ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรมสหรัฐฯ (1979-1981) เคยให้ความเห็นว่า การชัตดาวน์ที่เกิดขึ้นก่อนปี 1980 เป็นความล้มเหลวในการจ่ายงบประมาณแก่หน่วยงานบางหน่วยของรัฐบาล ไม่ได้หมายความว่ารัฐบาลบางส่วนต้องหยุดงาน ต่างจากปัจจุบัน ที่ส่งผลกระทบต่อหลายหน่วยงานและภาคส่วน ซึ่งนักวิเคราะห์ส่วนหนึ่งไม่จัดให้เหตุการณ์เหล่านี้เป็นการชัตดาวน์
ตั้งแต่ ปี 1981 เป็นต้นมา รัฐบาลสหรัฐฯต้องหยุดงานเพราะขาดสภาพคล่องถึง 11 ครั้ง แต่มีการชัตดาวน์ที่ส่งผลกระทบรุนแรงเพียง 5 ครั้งเท่านั้น ได้แก่ การชัตดาวน์ครั้งที่ 7 ในวันที่ 20 พ.ย. ปี 1981 ประธานาธิบดีโรนัล เรแกน ประกาศวีโต (คัดค้าน) กฎหมายงบประมาณ เนื่องจากมีการตัดลดงบประมาณภายในประเทศน้อยกว่าที่เขาต้องการอยู่ 2 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ส่งผลให้ข้าราชการจำนวน 400,000 คนถูกส่งกลับบ้านในช่วงพักกลางวัน และได้รับแจ้งว่าไม่ต้องกลับมาทำงานอีก  จนกระทั่งสภาคองเกรสผ่านกฎหมายขยายระยะเวลารายจ่ายปัจจุบันถึงวันที่ 15 ธ.ค. เพื่อให้เวลาแก้ไขข้อขัดแย้ง พนักงานทั้งหมดจึงได้กลับมาทำงานอีกครั้งในวันที่ 23 พ.ย.

แจ้งปิดเทพีเสรีภาพ หยุดให้นักท่องเที่ยวเข้าชม

การ ชัตดาวน์ต่อเนื่องครั้งที่ 11 และ 12 ในปี 1984 (30 ก.ย.-3 ต.ค. และ 3 ต.ค.-5 ต.ค.) การชัตดาวน์ต่อเนื่องจากความไม่ลงรอยเรื่องกฎหมายงบประมาณ ซึ่งประธานาธิบดีโรนัลด์ เรแกน สนับสนุนงบต่อสู่อาชญากร แต่ต่อต้านงบโครงการน้ำของสภาล่าง และงบมาตรการสิทธิ์พลเรือนของสภาสูง แต่ตกลงไม่ทันจนชัตดาวน์นาน 2 วัน ก่อนผ่านกฎหมายขยายเวลา 3 วัน อย่างไรก็ตามเวลา 3 วันไม่เพียงพอ ทำให้ต้องชัตดาวน์อีกครั้งเป็นเวลา 1 วันก่อนสภาจะผ่านกฎหมายงบประมาณโดยคงงบต่อสู่อาชญากรไว้ และตัดงบโครงการน้ำของสภาล่าง และงบมาตรการสิทธิ์พลเรือนออกไป มีพนักงานถูกพักงานถึง 500,000 คนในการชัตดาวน์ครั้งนี้ แต่ทั้งหมดถูกเรียกตัวกลับไปทำงานอีกครั้ง หลังปัญหาคลี่คลาย
การ ชัตดาวน์ครั้งที่ 15 เมื่อวันที่ 5 ต.ค.-9 ต.ค. ปี 1990 สมัยประธานาธิบดี จอร์จ ดับเบิลยู บุช ซึ่งประกาศไม่ลงนามในกฎหมายงบประมาณหรือกฎหมายผ่อนปรนใดๆ ทำให้หน่วยงานรัฐหยุดงานนาน 3 วันเต็ม แต่โชคดีที่เกิดขึ้นในช่วงสุดสัปดาห์ (คริสโตเฟอร์ โคลัมบัสเดย์) ซึ่งข้าราชการส่วนใหญ่หยุดงานอยู่แล้ว ก่อนที่บุชจะยอมลงนามกฎหมายงบประมาณฉุกเฉิน และเจ้าหน้าที่ทั้งหมดสามารถกลับไปทำงานได้ในวันอังคาร

แจ้งปิดคุกอาร์คาทรัซ ไม่ให้นักท่องเที่ยวเข้าชม
และ ครั้งสุดท้าย คือ การชัตดาวน์ครั้งที่ 16 และ 17 ในวันที่ 13 พ.ย.-19 พ.ย. ปี 1995 และ วันที่ 16 ธ.ค. 1995 -6 ม.ค. 1996 เป็นการหยุดงานของหน่วยงานรัฐที่ยาวนานที่สุด (21 วัน) และส่งผลกระทบต่อเนื่องจนถึงเดือนเม.ย. 1996 และเป็นครั้งเดียวที่ส่งผลกระทบทั่วทั้งอเมริกา นับเป็นการชัตดาวน์ครั้งรุนแรงที่สุดในประวัติศาสตร์สหรัฐฯ เป็นผลมาจากทางตันด้านงบประมาณระหว่างประธานาธิบดี บิล คลินตัน (เดโมแครต) และสภคองเกรสที่รีพับลิกันครองเสียงข้างส่วนใหญ่ทั้งสองสภา ในเรื่องการจัดสรรงบฯให้กับหน่วยงานประกันสุขภาพ, การศึกษา, สิ่งแวดล้อมและสาธารณสุข โดยวิกฤตินี้คลี่คลายลงได้เมื่อสภายอมผ่านกฎหมายเพื่อให้รัฐบาลเปิดอีกครั้ง ส่วนคลินตันยอมรับแผนงบประมาณที่ สำนักงบประมาณรัฐสภา เห็นว่าจะช่วยงบฯกลับมาสมดุลอีกครั้งภายใน 7 ปี
การชัตดาวน์ครั้งนี้ ส่งผลให้สหรัฐฯเสียรายได้จากภาษีอย่างน้อย 800 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ศูนย์ควบคุมและป้องกันโรคหยุดการเฝ้าระวังเชื้อโรค งานกำจัดขยะพิษใน 609 จุดหยุดชะงัก อุทยานแห่งชาติ 368 แห่งถูกปิด ส่งผลให้จำนวนนักท่องเที่ยวลดลงถึง 700,000 คนในเวลาต่อมา การดำเนินการตามคำร้องขอทำหนังสือเดินทาง 200,000 คำร้อง และคำร้องขอทำวีซา 2-3 หมื่นคำร้องล่าช้า อุตสาหกรรมการบินและท่องเที่ยวสูญเสียรายได้หลายล้านดอลลาร์ และผลกระทบอื่นๆอีกมาก
แจ้งปิดหอศิลปะแห่งชาติ ตลอดช่วงที่รัฐบาลเป็นอัมพาต

ขณะ นี้รัฐบาลสหรัฐเข้าสู่ภาวะอัมพาตครั้งที่ 18 ซึ่งหลายฝ่ายอยากให้สภาคองเกรส ต้องเร่งหาทางผ่าทางตันนี้ไปให้ได้โดยเร็ว แม้ทั้งสองฝ่ายจะยังคงงัดข้อกันเรื่องกฎหมายปฏิรูปประกันสุขภาพ ของประธานาธิบดีโอบามา หรือที่รู้จักในชื่อ โอบามาแคร์ ซึ่งมีผลบังคับใช้แล้วเมื่อวันที่ 1 ต.ค. มิเช่นนั้น เรื่องนี้อาจส่งผลร้ายต่อเศรษฐกิจสหรัฐฯ ซึ่งกำลังฟื้นตัวจากวิกฤติเศรษฐกิจเมื่อปี 2008 และยังคงเปราะบางอยู่มาก.

รองเท้าผ้าใบ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น