วันพฤหัสบดีที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2556

พระอัจฉริยภาพ'ฝนหลวง' ดับร้อนภัยแล้ง



นับตั้งแต่ปี พ.ศ.2498 ครั้งที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จฯ เยี่ยมประชาชนภาคตะวันออกเฉียงเหนือ พระองค์ทรงพบความเดือดร้อนของประชาชน อันเนื่องมาจากความผันแปรไม่แน่นอนของธรรมชาติ ซึ่งมีน้ำท่วมเมื่อฝนมา ครั้นหน้าแล้งก็ปราศจากน้ำฝนที่ตกลงสู่พื้นดิน พระองค์ทรงพบว่าสภาวะแห้งแล้งมีแนวโน้มมากยิ่งขึ้น จนทำให้แผ่นดินภาคอีสานแตกระแหง

ด้วยเหตุนี้ พระองค์จึงมีแนวพระราชดำริว่า “ทำอย่างไรจะรวมเมฆให้เกิดเป็นฝนตกลงสู่ พื้นที่แห้งแล้ง” และนี่จึงเป็นจุดเริ่มต้นของโครงการ "ฝนหลวง" ในปัจจุบัน


ศูนย์ ฝนหลวงหัวหิน คือสถานที่ในยุคแรกของโครงการฝนหลวง ที่ใช้ในการทดลองปฏิบัติการ ทำฝนเทียมและจวบจนปัจจุบัน สถานที่แห่งนี้ก็ยังคงเป็นส่วนหนึ่งของโครงการฝนหลวง ที่ทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางหลักในการวิเคราะห์ วิจัย และวางแผนการปฏิบัติการฝนหลวงในทุกครั้ง และยังเป็นสถานที่ที่บอกเล่าเรื่องราวอันน่าภูมิใจของความสำเร็จในการทำฝน หลวงของคนไทย หนึ่งจุดที่น่าสนใจของสถานที่แห่งนี้คือ ห้องทรงงานของพระบาทสมด็จพระเจ้าอยู่หัว ที่ทรงใช้ในการศึกษา วิจัยการดัดแปรสภาพอากาศ ตั้งแต่เริ่มต้น จนในปี พ.ศ.2512 ฝนหลวงก็ได้ออกปฏิบัติหน้าที่อย่างเป็นทางการ เพื่อดับทุกข์ร้อนของประชาชน

เมื่อ พูดถึงฝนหลวง สิ่งที่ขาดไม่ได้ และถือเป็นพระเอกของโครงการนี้ นั่นก็คือ เครื่องบินปล่อยสารเคมี โดยศูนย์ปฏิบัติการฝนหลวงแห่งนี้ ได้จัดแสดงเครื่องบิน รุ่น ARI TRUK PL-12

เป็นเครื่องบินในยุคแรกๆ ลักษณะเป็นเครื่องบินขนาดเล็ก สามารถจุคนได้เพียง 2 คนเท่านั้น คือ คนบังคับเครื่องบิน และผู้ปล่อยสารเคมี แต่จนถึงวันนี้ เครื่องบินที่ใช้ในปฏิบัติการฝนหลวง ได้มีการผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนกว่า 15 รุ่น เพื่อประสิทธิภาพในการอำนวยประโยชน์มากที่สุดแก่ประชาชนในทุกพื้นที่และรุ่น ล่าสุดที่ใช้ในขณะนี้คือ รุ่นที่มีชื่อว่า SUPER KING AIR

ปฏิบัติ การฝนหลวง นอกจากจะช่วยในด้านเกษตรกรรมและการอุปโภคบริโภคแล้ว ยังเป็นการช่วย เพิ่มปริมาณน้ำต้นทุนให้แก่อ่างและเขื่อนเก็บกักน้ำ เพื่อชลประทานและผลิตกระแสไฟฟ้า แหล่งน้ำ และต้นน้ำลําธารธรรมชาติ อีกทั้งยังเป็นการช่วยรักษาป่าไม้ โดยเฉพาะในช่วงฤดูแล้ง

รองเท้าผ้าใบ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น