วันพฤหัสบดีที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

ยิ่งยื้อเวลา รัฐบาลยิ่งลักษณ์ยิ่งจบไม่สวย

 
ในภาวะที่สถานการณ์การเมืองยังครองพื้นที่ใน Social Media ไม่เว้นทั้ง Facebook, Twitter และ Instagram ผู้บริโภคข้อมูลข่าวสารผ่าน Social Media ต้องใช้วิจารณญาณสูงมากในการกลั่นกรองและแยกแยะอย่างรอบคอบ ไม่เช่นนั้น เราก็อาจต้องตกเป็นเหยื่อของข่าวลือทั้งหลายในที่สุด

แต่คำถามตัว โตๆ สำหรับคนไทยส่วนใหญ่ ไม่ว่าจะเทใจให้กับฝ่ายสนับสนุนหรือต่อต้านรัฐบาลน่าจะเป็นคำถามเดียวกันว่า สถานการณ์ความขัดแย้งทางการเมืองในขณะนี้ จะมีจุดจบอย่างไร

เพราะ แกนนำผู้ชุมนุมอย่างนายสุเทพ เทือกสุบรรณ ได้ประกาศชัดเจนแล้วว่า เป้าหมายของการเคลื่อนไหวในคราวนี้ ไม่ใช่แค่ให้นายกรัฐมนตรียุบสภา หรือลาออก แต่ต้องการให้มีการตั้งสภาประชาชนเพื่อปฏิรูปประเทศไทยให้หลุดพ้นจากระบอบ ทักษิณให้จงได้ ในขณะที่ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีก็ยืนยันมาจนถึงทุกวันนี้ว่า จะไม่ยุบสภา หรือลาออกแต่อย่างใด

รวม ทั้งล่าสุด นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ได้ออกมาแถลงผลการประชุมพรรคล่าสุดว่า พรรคจะสนับสนุนการเคลื่อนไหวของประชาชนนอกสภาที่อยู่ภายใต้กรอบของกฎหมาย เพราะถือว่ารัฐบาลนี้ หมดความชอบธรรมที่จะบริหารประเทศต่อไปแล้ว

หาก จะประเมินสถานการณ์ทางการเมืองขณะนี้แล้ว อาจจะมองว่า ประเทศไทยกำลังจะเข้าสู่ทางตัน เพราะต่างฝ่ายต่างไม่ยอมกัน แล้วทางออกของประเทศไทยจะไปในทิศทางไหน?

ถ้าเราวัดจากจำนวนคนที่ออก มาร่วมชุมนุมในวันที่ 24 พ.ย.ที่ผ่านมา น่าจะเป็นตัวบอกรัฐบาลได้ว่า ความชอบธรรมในการบริหารประเทศของรัฐบาลยังคงมีอยู่ต่อไปหรือไม่ เพราะไม่มีการชุมนุมครั้งใดในประวัติศาสตร์การเมืองไทยที่จะมีผู้มาร่วม ชุมนุมมากขนาดนี้

แต่ อาจจะด้วยความเชื่อแบบเดิมๆ ของฝ่ายรัฐบาลที่มีคิดว่า พรรคเพื่อไทยได้รับการสนับสนุนจากประชาชนจนได้รับเลือกตั้งเข้ามาเป็นเสียง ข้างมาก อีกทั้งยังมีมวลชนคนเสื้อแดงในนามกลุ่ม นปช. คอยค้ำยันรัฐบาลอยู่อีกทางหนึ่งดังนั้น จึงยังคงมีความชอบธรรมในการบริหารประเทศต่อไป

ในการปกครองระบอบ ประชาธิปไตยแบบรัฐสภาที่ใช้อยู่ในประเทศไทยขณะนี้ ใช้ระบบเสียงข้างมากในรัฐบาลเป็นตัวตัดสินว่าจะสนับสนุนใครเป็นนายกรัฐมนตรี เพื่อมาจัดตั้งรัฐบาล รวมทั้งการออกกฎหมายต่างๆ แต่ก็ไม่ได้หมายความว่า เสียงข้างมากในสภาจะสามารถออกกฎหมายต่างๆ ออกมาตามอำเภอใจโดยไม่ฟังเสียงทักท้วง

บทเรียนจากการที่เสียงข้าง มากในสภาผู้แทนราษฎรผ่านร่างพระราชบัญญัตินิรโทษกรรมโดยไม่ฟังเสียงทัดทาน จากเสียงข้างน้อยและคนในสังคม ทำให้เกิดแรงต่อต้านที่รุนแรง จนกระทั่งฝ่ายรัฐบาลต้องถอยกลับแบบ 360 องศา โดยส่งสัญญาณให้วุฒิสมาชิกลงมติคว่ำร่างกฎหมายดังกล่าวตั้งแต่ว่าแรก และสัญญาว่าจะไม่นำกลับมาพิจารณายืนยันอีก น่าจะเป็นจุดเริ่มต้นที่ทำให้รัฐบาลเริ่มขาดความชอบธรรมในการบริหารประเทศ แต่ปัญหาคือ รัฐบาลยังไม่ยอมรับว่าเป็นความผิดพลาดของรัฐบาล แต่กลับโทษว่าคนที่ออกมาคัดค้านเข้าใจข้อมูลคลาดเคลื่อน

ความ ล่าช้าในการการตัดสินใจถอย และการปฏิเสธความรับผิดชอบของรัฐบาลในเรื่องนี้ ทำให้การเคลื่อนไหวคัดค้านร่าง พ.ร.บ.นิรโทษกรรมกลายมาเป็นการชุมนุมต่อต้านรัฐบาลในที่สุด และเมื่อศาลรัฐธรรมนูญมาคำวินิจฉัยในเรื่องที่มาของสมาชิกวุฒิสภา ฝ่ายรัฐบาลก็ยังคงไม่ยอมรับคำวินิจฉัย และเริ่มหันไปใช้กระบวนการระดมมวลชนออกมากดดันศาลรัฐธรรมนูญและฝ่ายตรงข้าม รัฐบาล

พฤติกรรมหลายอย่างของนายกรัฐมนตรีและคนในรัฐบาลที่พยายามจะ เรียกร้องให้กลุ่มผู้ชุมนุมต่อต้านรัฐบาลไม่กระทำการผิดกฎหมายด้วยการเข้าไป ยึดสถานที่ราชการย่อมไม่เป็นผล เพราะคนของพรรคเพื่อไทยทั้งหมดเคยให้การสนับสนุนให้กลุ่ม นปช.กระทำการที่ผิดกฎหมายมาก่อน โดยอย่างน้อยที่สุด ได้มีการชุมนุมปิดการจราจรบริเวณแยกราชประสงค์ซึ่งเป็นย่านการค้าสำคัญใน กทม.เป็นแรมเดือน รวมทั้งนำคนไปกดดันสถานที่ราชการและทำลายทรัพย์สินของทางราชการที่กระทรวง มหาดไทยมาก่อน

ดังนั้น สิ่งที่รัฐบาลพยายามทำอยู่ในขณะนี้คือ การประคองสถานการณ์ให้ทอดเวลาออกไป โดยเชื่อว่ากลุ่มผู้ชุมนุมจะหมดแรงไปเอง โดยไม่ได้ประเมินว่า แม้รัฐบาลจะยังคงบริหารประเทศต่อไปได้ แต่ประชาชนส่วนใหญ่ ยังมีความไว้วางใจการทำงานของรัฐบาล หรือจะให้ความร่วมมือกับรัฐบาลอีกต่อไปหรือไม่

คำ ตอบนี้ รัฐบาลโดยเฉพาะนายกรัฐมนตรีน่าจะทราบดี แต่ปัญหาคือ จะรีบยอมรับความจริงและแสดงความกล้าหาญในการแก้ปัญหาวิกฤติศรัทธาในรัฐบาล ด้วยความช้าเร็วแค่ไหน ซึ่งถ้าจะให้เป็นไปตามวิถีทางของรัฐธรรมนูญตามที่นายกฯ ได้ออกมาแถลงก่อนหน้านี้ ก็คือ ต้องตัดสินใช้อำนาจของนายกรัฐมนตรีในการยุบสภาผู้แทนราษฎรเพื่อจัดให้มีการ เลือกตั้งใหม่ภายในระยะเวลาระหว่าง 45-60 วัน

เพราะหากปล่อยเวลา เนิ่นช้าต่อไป ก็อาจจะทำให้สถานการณ์ลุกลามบานปลายจนเกินกว่าที่รัฐบาลจะสามารถควบคุมได้ และสุดท้ายก็ต้องตัดสินใจยุบสภาอยู่ดี ซึ่งเมื่อถือเวลานั้น ปัญหาความไม่ชอบธรรมของรัฐบาลอาจจะมีผลกระทบต่อพรรครัฐบาลจนถึงขั้นไม่มี โอกาสกลับมาแก้ตัวในฐานะฝ่ายรัฐบาลได้อีก...
รองเท้าผ้าใบ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น