วันศุกร์ที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2556

โฆษกรัฐ ยัน แนวคิด'เก็บภาษีคนโสด'เพิ่ม ไม่ใช่นโยบายรัฐบาล


นายธีรัตน์ รัตนเสวี โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ถึงกับ ทนไม่ไหว โพสต์เฟซบุ๊ก โต้ข่าว เก็บภาษีคนโสด เพิ่ม ยัน ไม่ใช่นโยบายรัฐ อย่าเข้าใจผิด เป็นเพียงข้อเสนอนักวิชาการ รายหนึ่ง เท่านั้น   วันที่ 6 ก.ย. นายธีรัตน์ รัตนเสวี โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ทนไม่ไหว ถึงกับ โพสต์เฟซบุ๊ก และทวิตเตอร์ส่วนตัว Teerat Ratanasevi  ปัดกรณีมีกระแสข่าวลุกลามว่ารัฐบาลมีแนวคิด เตรียมเก็บภาษีเพิ่มสำหรับคนโสด ที่ยังไม่แต่งงานว่ากรณีนี้ไม่ใช่แนวคิดรัฐบาล เป็นเพียงแนวคิดของนักวิชาการคนหนึ่งที่เสนอออกมาสู่สังคมเท่านั้น  เนื่องจากเห็นว่าคนไทยปัจจบันแต่งงานมีลูกน้อยลง ซึ่งจะมำให้ประเทศมีปัญหาในอนาคต  "เป็นอีกวันที่รู้ว่า คนไทยอ่านข่าวเฉพาะ Headline เพราะเรื่องการเก็บภาษีคนโสด เป็นแนวคิดของนักวิชาการคนหนึ่ง รัฐบาลยังไม่มีนโยบายเรื่องภาษีอะไรแบบนั้นทั้งสิ้น"   ทั้งนี้ สืบเนื่องจาก มีกระแสข่าวในโลกโซเชียลมีเดียตลอดทั้งวัน ภายหลังที่มีนักวิชาการ จากคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยชื่อดัง ได้เปิดเผย ถึง การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างเศรษฐกิจและนโยบายการรองรับในสอง ทศวรรษหน้าว่า ประเทศไทยกำลังเผชิญความเสี่ยงเกิดปัญหาขาดแคลนแรงงาน โครงสร้างประชากรไม่สมดุล และต้องเสียงบประมาณดูแลผู้สูงอายุจำนวนมาก สวนทางกับวัยรุ่นวัยทำงานที่มีแนวโน้มเพิ่มต่ำลง  โดยสถิติ ตั้งแต่ปี 2547 พบว่า สังคมไทยได้เป็นสังคมผู้สูงอายุแล้ว โดยมีสัดส่วนประชากรที่มีอายุเกิน 60 ปีขึ้นไป ถึง 10% ของประชากรรวม และคาดว่าในอีก 10 ปีข้างหน้า หรือปี 2567 ประเทศไทยจะก้าวสู่สังคมผู้สูงอายุเต็มขั้น คือ มีสัดส่วนคนอายุเกิน 60 ปี สูงเกิน 20% ซึ่งจะเกิดผลกระทบต่อภาพรวมในการพัฒนาเศรษฐกิจ แรงงาน และพฤติกรรมการใช้จ่ายของประชากรในประเทศ ขณะที่อัตราการเจริญพันธุ์ของ ไทยขณะนี้ต่ำมากเพียง 1.6 ต่อครอบครัว หรือ 1 คู่สมรส มีลูกเพียง 1 คนกว่าเท่านั้น ทั้งที่จริงต้องมีลูกขั้นต่ำ 2-3 คน ถึงจะเพียงพอต่อการทดแทนประชากรเดิม  สำหรับสาเหตุที่คนไทยมีลูกน้อยมาจากแนวโน้มสังคมเมืองและเศรษฐกิจที่เติบโต รวดเร็ว เพราะเมื่อเศรษฐกิจดีหนุ่มสาวจะเลือกทำงานเพื่อสร้างฐานะ ความมั่นคงในชีวิตมากกว่าการหาคู่แต่งงานสร้างครอบครัว ประกอบกับปัจจุบันค่าครองชีพและต้นทุนในการเลี้ยงดูบุตรสูงขึ้น ทั้งค่าเล่าเรียน ค่ารักษาพยาบาล สินค้าข้าวของแพงขึ้น ครอบครัวส่วนใหญ่จึงเลือกมีลูกน้อย ซึ่งต่างจากอดีตในสังคมเกษตรที่คนไทยมีลูกมากเพราะต้นทุนการเลี้ยงดูไม่สูง  อย่างไรก็ตาม ได้มีการเสนอแนวทางแก้ไขว่า ภาค รัฐควรออกนโยบายสนับสนุนให้คนไทยมีลูกเพิ่มขึ้น เช่น โครงการลูกคนแรก โดยรัฐช่วยสนับสนุนค่าใช้จ่าย การเลี้ยงดูให้กับครอบครัวที่มีลูกคนแรก รวมถึงให้เงินอุดหนุน หรือลดภาษีสำหรับครอบครัวที่มีลูกคน 2 และ 3 นอกจากนี้ ควรเรียกเก็บภาษีคนโสด ภาษีคนไม่มีลูก กระตุ้นให้มีครอบครัวเพื่อลดภาระงบประมาณ การใช้สวัสดิการดูแลของภาครัฐในอนาคต.

รองเท้าผ้าใบ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น